top of page
Selected Group Exhibition
at Khonkaen, Thailand
11Mar. 2023 - 25 Mar. 2023
 

The People’s Party

This series of works by Patcharapa Inchang aims to shine a spotlight on a group of individuals who were the driving forces behind one of Thailand’s most significant political events, the ones who ushered the nation into an age of democracy in 1932. These people include:



1. Pridi Banomyong
2. Prayoon Pamornmontri  
3. Plaek Khittasangkha
4. Thatsanai Mitphakdi
5. Tua Lophanukrom  
6. Charoon Singhaseni    
7. Nab Phaholyothin

In the context of Thailand’s social and political conditions in the 1930s, the ideas put forth by these individuals can be considered ahead of their time. Specifically, their desire to steer the vessel that is Thailand out of the stymying whirlpool of the Absolute Monarchy, heading instead for the currents of freedom that is democracy. But these intellectuals were set upon by those determined to see them fail, and were ultimately lost to the depths, all without ever reaching the serene waters of their desired destination. And thus the people are swept up by malevolent currents once more, desperately grasping for air under the oppression of a different foe, one that has corrupted the democratic process through a repeated cycle of coups and constitutional desecration.

Patcharapa raises questions regarding historical equality, and the freedom of awareness. She has created a visual representation of all the stories Thai citizens are being made only vaguely aware of through misinformation. Many of Thailand’s most historic political events have been quietly eliminated, only to be clumsily replaced by information that props up the supposedly benevolent monarchy while suppressing any attempts for independence by the people.

But while their personal histories have been forcibly suppressed, the People’s Party have successfully managed to unmistakably sow the seeds of democratic ideology, as stated in their definition of the ‘People’s Party’ (Khana Rat or Khana Ratsadon).

The term ‘Ratsadon’ has been chosen as all of our collaborators are true Thai citizens, and the members of the People’s Party are willing to untiringly sacrifice themselves for the people, to achieve democracy. As many proponents of democracy are aware, President Abraham Lincoln once aptly defined ‘democracy’ as ‘a government of the people, by the people, for the people”. (Ananthanathorn, 2022)

ชุดผลงานโดย พัชราภา อินทร์ช่าง ต้องการเจาะจงถึงกลุ่มบุคคลที่เป็นฟันเฟืองสำคัญที่อภิวัฒน์พลิกแผ่นดินไทยครั้งใหญ่ ผู้นำพาประเทศไทยไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในปี พ.ศ. 2475 อันได้แก่
1. นายปรีดี พนมยงค์
2. ร้อยโท ประยูร ภมรมนตรี    
3. ร้อยโท แปลก ขีตตะสังคะ
4. ร้อยตรี ทัศนัย มิตรภักดี    
5. นายตั้ว ลพานุกรม
6. นายจรูญ สิงหเสนี     
7. นายแนบ พหลโยธิน

คนกลุ่มนี้ นับเป็นกลุ่มคนที่มีแนวคิดมาก่อนกาลเมื่อทาบเทียบกับสภาพสังคมและแนวคิดทางการเมืองในประเทศไทยขณะนั้น กล่าวคือ พวกเขายึดมั่นต่อราษฎรไทยและอุทิศตนเพื่อนำลำนาวาที่ว่ายวนในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชไปสู่กระแสชลแห่งเอกราชที่มีชื่อว่าประชาธิปไตย ไม่ทันพ้นสู่น่านน้ำอันเป็นเป้าหมาย กลุ่มปัญญาชนกลับต้องเผชิญกับซากทัศนะที่มุ่งหมายให้อับปาง จนท้ายที่สุดก็ถูกกลืนให้หายไป ซัดพาให้ราษฎรตะเกียกตะกายไปสู่วังวนของการกดขี่โดยคนอีกกลุ่มหนึ่งที่สถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ประกอบไปด้วยการรัฐประหาร การเลือกตั้ง เพื่อนำไปสู่การยึดอำนาจ และการฉีกรัฐธรรมนูญครั้งแล้วครั้งเล่า

พัชราภา ทวงถามถึงความเสมอภาคทางประวัติศาสตร์ อิสรภาพแห่งการรับรู้ เธอสร้างผลงานอันเปรียบได้เป็นภาพของข้อมูลที่ประชาชนถูกชี้นำให้ได้รับรู้เพียงความพร่าเลือนบนความบิดเบือน เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางการเมืองครั้งสำคัญของไทยกลับถูกตัดให้หายไปอย่างหยาบ ๆ แล้วต่อแทนที่ด้วยส่วนที่เน้นย้ำถึงศักดินาอันมีภาพลักษณ์ที่สวยงามแต่กดทับไม่ให้ราษฎรได้ลืมตาอ้าปาก ประวัติศาสตร์ของตัวบุคคลที่ถูกบังคับให้พร่าเลือนไปจากการรับรู้ แต่คณะราษฎรได้ฝังทรรศนะประชาธิปไตยเอาไว้อย่างเด่นชัด ตามความหมายของ คณะราษฎร เอาไว้ว่า สำหรับคำว่า ‘ราษฎร’ นั้น “เพราะผู้ก่อการฯ ทุกคนเป็นราษฎรไทยแท้จริง และสมาชิกคณะราษฎรทั้งหลายยอมอุทิศตนและความเหนื่อยยากเพื่อราษฎรให้บรรลุถึงซึ่งประชาธิปไตย ดังที่นักประชาธิปไตยส่วนมากย่อมทราบว่า ประธานาธิบดีลินคอล์นได้สรุปคำว่า ‘ประชาธิปไตย’ ไว้อย่างเหมาะสมว่า ‘รัฐบาลของราษฎร, โดยราษฎร, เพื่อราษฎร’” (อนันทนาธร, 2565)

bottom of page